Wednesday, October 28, 2009

the language which the deaf can hear and the blind can see


“Kindness
is the language which the deaf can hear and the blind can see.”

Mark Twain

ใครที่เป็นแฟนพันธุ์แท้ของนักเขียนที่ใช้นามปากกาว่า Mark Twain ก็คงจะคุ้นเคยกับคำคมข้างต้นเป็นอันดี ในขณะเดียวกันคนที่เพิ่งจะเห็นคำคมที่ว่าเป็นครั้งแรกก็คงจะอึ้งในความช่างคิดช่างจินตนาการของนักเขียนท่านนี้ เพราะถ้าเราจะทำความเข้าใจกับความหมายของคำว่า kindness ในภาษาอังกฤษก็จะพบว่าไม่ว่าใครคนหนึ่งจะหูหนวกหรือตาบอดเขาคนนั้นก็สามารถจะเข้าถึงความหมายของคำๆนี้ได้อย่างง่ายดาย นั่นก็เพราะเราสามารถสัมผัสถึง “ความเมตตา” “ความมีน้ำใจ” “ความกรุณา” “ความโอบอ้อมอารี” ที่เราได้รับจากผู้ที่หยิบยื่นให้โดยที่ไม่จำเป็นต้องได้ยินด้วยหู หรือเห็นด้วยตา

ในพจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรมซึ่งรจนาโดยพระเดชพระคุณ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต) ก็ได้พรรณาถึงสาระของพรหมวิหารธรรม 4 ไว้โดยละเอียด ซึ่งในที่นี้ขอคัดมาเพียงบางส่วนว่า ....

พรหมวิหาร 4 (ธรรมเครื่องอยู่อย่างประเสริฐ, ธรรมประจำใจอันประเสริฐ, หลักความประพฤติที่ประเสริฐบริสุทธิ์, ธรรมที่ต้องมีไว้เป็นหลักใจและกำกับความประพฤติ จึงจะชื่อว่าดำเนินชีวิตหมดจด และปฏิบัติตนต่อมนุษย์สัตว์ทั้งหลายโดยชอบ - holy abidings; sublime states of mind)
1. เมตตา (ความรักใคร่ ปรารถนาดีอยากให้เขามีความสุข มีจิตอันแผ่ไมตรีและคิดทำประโยชน์แก่มนุษย์สัตว์ทั่วหน้า - loving-kindness; friendliness; goodwill)
2. กรุณา (ความสงสาร คิดช่วยให้พ้นทุกข์ ใฝ่ใจในอันจะปลดเปลื้องบำบัดความทุกข์ยากเดือดร้อนของปวงสัตว์ - compassion)
3. มุทิตา (ความยินดี ในเมื่อผู้อื่นอยู่ดีมีสุข มีจิตผ่องใสบันเทิง กอปรด้วยอาการแช่มชื่นเบิกบานอยู่เสมอ ต่อสัตว์ทั้งหลายผู้ดำรงในปกติสุข พลอยยินดีด้วยเมื่อเขาได้ดีมีสุข เจริญงอกงามยิ่งขึ้นไป - sympathetic joy; altruistic joy)
4. อุเบกขา (ความวางใจเป็นกลาง อันจะให้ดำรงอยู่ในธรรมตามที่พิจารณาเห็นด้วยปัญญา คือมีจิตเรียบตรงเที่ยงธรรมดุจตราชั่ง ไม่เอนเอียงด้วยรักและชัง พิจารณาเห็นกรรมที่สัตว์ทั้งหลายกระทำแล้ว อันควรได้รับผลดีหรือชั่ว สมควรแก่เหตุอันตนประกอบ พร้อมที่จะวินิจฉัยและปฏิบัติไปตามธรรม รวมทั้งรู้จักวางเฉยสงบใจมองดู ในเมื่อไม่มีกิจที่ควรทำ เพราะเขารับผิดชอบตนได้ดีแล้ว เขาสมควรรับผิดชอบตนเอง หรือเขาควรได้รับผลอันสมกับความรับผิดชอบของตน - equanimity; neutrality; poise)

ผู้ดำรงในพรหมวิหาร ย่อมช่วยเหลือมนุษย์สัตว์ทั้งหลายด้วยเมตตากรุณา และย่อมรักษาธรรมไว้ได้ด้วยอุเบกขา ดังนั้น แม้จะมีกรุณาที่จะช่วยเหลือปวงสัตว์แต่ก็ต้องมีอุเบกขาด้วยที่จะมิให้เสียธรรม

ในพระพุทธศาสนา กรรมทั้งหลายที่บรรดาเราท่านได้ประกอบอยู่ในชีวิตประจำวันของเรานั้นย่อมไม่พ้นไปจาก กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม เราสามารถดำรงอยู่ในพรหมวิหารเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ผู้ร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตาย กับเราดังที่ท่านได้ว่าไว้ได้หลายวิธี แต่มีวิธีหนี่งที่ทุกคนเป็นเจ้าของอยู่แล้วและสามารถทำได้ทันทีในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ นั่นก็คือ การแสดงเมตตาจิตด้วยการใช้วจีกรรม แล้วคุณก็จะได้สัมผัสกับความมหัศจรรย์แห่งผลของการประกอบวจีกรรมตามที่ปรากฏในคำคมอันล้ำลึกของท่านแม่ชีเทเรซา ที่ว่า “วาจาอันเปี่ยมด้วยเมตตานั้นอาจจะสั้นหรือกล่าวออกไปโดยไม่ยาก แต่ความก้องกังวานของถ้อยคำเหล่านั้นสิ ไม่มีที่สิ้นสุด”

“Kind words can be short and easy to speak, but their echoes are truly endless.”

Mother Teresa

1 comment:

  1. Landed on this blog by accident...

    As a linguist, I couldn't help leaving what I have intended to be a short comment. I partly agree with this entry (about kind words), but I think it's too much of a stretch to link language use to Dhamma (spelling?).

    First, phonetically speaking, human language is uniqe (in comparison to other communication systems like traffic lights for example), and one of the distinguishing features is we use sounds to transmit thought. In this way, there's no such thing as kind language that a deaf person can "hear" (maybe gesture or body language, yes, but not human language).

    Second, pragmatically speaking, no words or expressions are inherently kind, and even if a word is uttered with the speaker attention to show kindness, it may not be perceived as such. In this way, there is no miracle in kind words. According to Brown and Levinson (1987), politeness (which, although not an example par excellence, I take to be one example of "kind" expressions) is employed only as strategies to save other people's face SO THAT they save our face IN RETURN. So, if they are correct, in using kind words/expressions, speakers hope that the listener will interpret an expression as face-saving/mitigating, but there's no guarantee that it will turn out to be so.

    Combining 1) and 2), then, whether an expresion is kind rests on a number of factors, such as the medium of transmission/perception, speaker attention, and a listener's perception. Thus, Mother Teresa and Mark Twain may have missed some points when they make claims about the existence and the effects of kind words/language.

    And I am still trying to figure out a connection between kind language/words (if these ever exist at all) and พหรมวิหารสี่...

    With all due respect,
    Krisda C.

    ReplyDelete