Thursday, September 10, 2015

บุหงาหิมาลัย : ตัวตน ผลงาน และประสบการณ์ชีวิต


ถ่ายเมื่อ 17 สิงหาคม 2557

ปี 2558 ผ่านพ้นไปแล้ว 8 เดือน เพิ่งจะ upload ได้เพียง entry เดียว วันนี้ก็ถือเป็นฤกษ์งามยามดี เนื่องจากเป็นเดือนเกิดของ blogger เลยถือโอกาสเริ่มต้นงานบล็อกอีกระลอกหนึ่งเป็นการเอาฤกษ์เอาชัยด้วยการแนะนำตัวให้ทุกท่านที่แวะเข้ามาเยี่ยมชมบล็อกนี้ได้รู้จักตัวตนของบล็อกเกอร์ "แบบดิบๆ" นะคะ คือใช้วิธี copy มาจากหน้าวอลล์ใน Facebook โดยไม่ปรุงแต่งเลย 

---ไม่กล้าสัญญา แต่ตั้งใจว่าจะกลับมา upload อย่างสม่ำเสมอหรือไม่ก็เปิด Blog ใหม่ที่บ่มข้อมูลไว้พอสมควรแล้ว

ในวาระที่บล็อกนี้กำลังจะย่างเข้าสู่ขวบปีที่ 7 บล็อกเกอร์ขอขอบคุณทุกการเยี่ยมชมที่เป็นพลังผลักดันให้ Life Language and Miracle เดินทางมาถึงวันนี้ค่ะ
           บุหงาหิมาลัย / BungaHimalaya


ในวัยเยาว์ (4ขวบ)

ตัวตนของฉัน 

รองศาสตราจารย์ ดร.อมร แสงมณี

ปีการศึกษา 2515 มัธยมปลาย (สายวิทย์) โรงเรียนสตรีวิทยา 
ปีการศึกษา 2519 วท.บ. (กายภาพบำบัด) มหาวิทยาลัยมหิดล
ปีการศึกษา 2522 ศศ.ม. (ภาษาศาสตร์เอเชียอาคเนย์) 
มหาวิทยาลัยมหิดล
ปีการศึกษา 2543 อ.ด. (ภาษาศาสตร์) จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย


ปีค.ศ. 1983 (2526) Training in Acoustic Phonetics at The Institute
of Phonetics, University of Copenhagen  Denmark



ฝึกอบรมด้าน Acoustic Phonetics ที่ Denmark (1983)

ปฏิบัติราชการที่สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย (สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท-เดิม) มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2522 ถึงปีพ.ศ. 2557 
ตำแหน่งวิชาการ รองศาสตราจารย์

องค์ความรู้เกี่ยวกับภาษา(บางภาษา) และสาระเกี่ยวกับ เ สี ย ง ใ น ภ า ษ า คือความเชี่ยวชาญที่ฉันบ่ม เพาะมา ตลอดช่วงเวลา 35 ปี ที่ทำหน้าที่อาจารย์สอนนักศึกษาภาษาศาสตร์ระดับปริญญาโท (ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2522) และปริญญาเอก (ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2544) ที่สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล

ฉันเขียนตำราวิชา สัทศาสตร์ (Phonetics) ซึ่งฉบับพิมพ์ครั้งที่ 4 กำลังจะออกจำหน่ายเร็วๆ นี้ นอกจากนั้นฉันก็รู้ภาษามลายู (Bahasa Melayu) ในระดับที่สอนนักศึกษาได้โดยเน้นเรื่องระบบเสียง และไวยากรณ์ขั้นต้น ...ฉันอ่านตัวอักษรยาวี (Huruf Jawi) ได้-เขียนตัวอักษรยาวีเป็น 

นอกจากนี้ฉันก็พอจะสื่อสารด้วยภาษาชาวเล (Urak Lawoi') ได้ในระดับหนึ่ง แต่ด้วยพรสวรรค์เรื่องการแยกแยะเสียง และการเลียนเสียงในภาษาของฉัน ทำให้เด็กสาวชาวเลรุ่นหลานคนหนึ่งชมฉันแรงไปหน่อยว่าฉัน "ตอแหล" และเป็น "ชาวเลลืมชาติ" หลังจากที่เธอได้ยินฉันพูดภาษาของเธอ แล้วก็ถามฉันว่า ฉันเป็นชาวเลที่ไหน และได้คำตอบจากฉันว่า "เป็นคนไทย มาจากกรุงเทพ"
.....เหตุที่เธอชมฉันด้วยถ้อยคำที่รุนแรงเช่นนั้นก็เพราะว่าตลอดเวลา 41 วันที่ฉันใช้ชีวิตอยู่บนเกาะเพื่อเก็บข้อมูลทำวิทยานิพนธ์นั้น เธอยังไม่เกิด



ตำราวิชาสัทศาสตร์ (2536)

งานด้านภาษาอีกแขนงหนึ่งที่ฉันรักเป็นชีวิตจิตใจคืองานแปล (อังกฤษเป็นไทย) และดูเหมือนว่าฉันจะเป็นคนโชคดีเรื่องการงาน เพราะหนังสือแปล 3 เล่มที่ฉันมีโอกาสได้แปล เป็นหนังสือแปล "สร้างชีวิต" จริงๆ เพราะหลังจากที่ฉันทำงานแต่ละชิ้นสำเร็จ ฉันก็ไม่ใช่คนเดิมอีกต่อไป...ผลงานด้านการแปลที่ภูมิใจที่สุดคือ https://www.facebook.com/notes/amon-himalai/ภาพสวรรค์ภูฏาน-สมบัติล้ำค่าแห่งแดนมังกรสายฟ้า/509989342358186



ผลงานแปลที่ภูมิใจ (2549)



ชีวิตและผลงานของฉัน (ฉบับย่อ/อยากอวด)

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10202738960349656&set=a.1327116512515.2041143.1668997367&type=3&theater

บทเพลงที่ฉันภูมิใจซึ่งบันทึกเสียงเมื่อตอนเรียนอยู่ชั้นปีที่ 2 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
https://www.youtube.com/watch?v=587SucJ-9h4
(ประพันธ์คำร้องและทำนองโดย กุลศักดิ์ เรืองคงเกียรติ และนพพร ยศฐา เพื่อนนักศึกษามหิดลของฉัน)


ผลงานเพลงเกือบทั้งหมดของฉัน 
http://languagemiracle.blogspot.com/2013/04/blog-post_26.html

กิจกรรมเพื่อสังคม และขัดเกลาตัวตนที่ฉันทำด้วยความสุข 
http://radio.manager.co.th/vod/detail.php?id=5161&tid=2&stid=60&page=9 --- (ที่จริงฉันทำรายการ "Dhamma World" ที่คลื่นสังฆทานธรรม FM 89.25 มาตั้งแต่ปี 2548-2556 รวม 472 ตอนๆ ละ 30 นาที แต่ไม่ได้ upload ส่วนที่ Manager Radio นั้นเพิ่งเริ่มทำเมื่อ 2 กันยายน 2557)



จัดรายการ แสงดาวแห่งศรัทธา

งานด้านฝึกอบรม ฉันเป็นผู้สร้างสรรค์หลักสูตร "สัทศาสตร์ปฏิบัติเพื่อการออกเสียงที่ดีกว่า", "การออกเสียงภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร", "การออกเสียงที่ดีกว่าเพื่อการสื่อสาร" ซึ่งเป็นหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น (12-24 ชั่วโมง) ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2545 ซึ่งเป็นการประมวลองค์ความรู้ด้านสัทศาสตร์ปฏิบัติที่ฉันถนัด และการออกเสียงภาษาอังกฤษที่ฉันสนใจเข้าด้วยกันอย่างพอเหมาะพอสม ก่อนเกษียณอายุราชการได้จัดการฝึกอบรม "สัทศาสตร์ปฏิบัติเพื่อการออกเสียงที่ดีกว่า" ที่หน่วยงานของฉันทั้งหมด 33 รุ่น (มีบางรุ่นไม่ได้จัดเช่นน้ำท่วม ) และได้รับเชิญให้ไปจัดหลักสูตรเหล่านี้ให้ทั้งภาครัฐ และเอกชนอีก รวมทั้งหมดที่ได้จัดมาแล้วประมาณ 100+ รุ่น แม้วันที่กำลังทำประวัติตนเองเพื่อเผยแพร่นี้ก็เพิ่งปิดการอบรมให้กับเจ้าหน้าที่ภาครัฐ หน่วยงานหนึ่ง

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10202765335089008&set=a.4964604127432.1073741828.1668997367&type=1&theater&notif_t=like

นอกจากนี้หลักสูตรฝึกอบรมที่ฉันจะจัดเมื่อมีความต้องการคือ "สัทศาสตร์แบบเข้ม (Intensive Phonetics)" และหลักสูตร "ภาษามลายูเพื่อการสื่อสาร" ซึ่งเป็นหลักสูตรระยะสั้น 30-40 ชั่วโมง




วิทยากร หลักสูตร "ออกเสียงอย่างไรให้ฝรั่งเข้าใจ" รุ่นที่ 4

ผลงานเพลงเกือบทั้งหมดของฉั http://languagemiracle.blogspot.com/2013/04/blog-post_26.html

บางเสี้ยวส่วนของชีวิตที่ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (ปัจจุบันได้ถอดลิงค์แล้ว ไม่ทราบว่าผู้มีเมตตาท่านใด ได้เก็บบทสัมภาษณ์นี้ไว้ให้---ขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้)http://www.tu.ac.th/org/central/public/prtu/clipping/2552/10/27-10-09/C-091027011064.pdf

อีกแง่มุมหนึ่งของชีวิต ที่พูดคุยกับ "คม ชัด ลึก" เมื่อ 5 ปีที่แล้ว http://www.komchadluek.net/detail/20100123/45591/ขุมทรัพย์แห่งการเยียวยารศ.ดร.อมรแสงมณี.html

ขอบคุณสรรพสิ่ง ที่ชีวิตนี้มีโอกาสได้เรียนรู้-เจียระไนจิตวิญญาณผ่านการทำงาน มากมายเหลือเกิน 






เดินทางไปภูฐานทริปแรก 33 วัน  (พฤษภาคม - มิถุนายน 2549)


http://slide.ly/gallery/view/414c275585593e0b22ea31b47afbf199?utm_content=viewpage_sidebar
(ดูใน Chrome นะคะ)



เดินทางไปภูฐาน 29 ตุลาคม - 3 พฤศจิกายน 2557


ภาพล่าสุด กับครูผู้เป็นที่เคารพรัก ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์พูนพิศ อมาตยกุล          7 กันยายน 2558